สแกนลายนิ้วมือบน Smart phone ปลอยภัยจริงหรือ!?!?




     ช่วงนี้ เราได้เห็น Smart phone รุ่นใหม่ๆ ออกมา แข่งขันกันในตลาดอย่างดุเดือด ด้วยฟังก์ชั่นการทำงานที่พยายามจะตอบโจทย์ชีวิตประจำวัน ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ และหนึ่งในฟังก์ชั่นที่กำลังออกมาสร้างความน่าสนใจก็คือ ระบบสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งผู้ผลิต Smart phone นั้นๆ ก็ต่างโฆษณาว่าเป็น "ความปลอดภัยระดับสูง"



     ล่าสุด Willy Susilo ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ชีวภาพ จาก University of Wollongong ได้ให้สัมภาษณ์กับ The Sydney Morning Herald เรื่อง ระบบสแกนลายนิ้วมือใน Smart phone ไว้ว่า

ก็แค่การขายของแบบเก๋ๆ เท่านั้น ความปลอดภัยไม่มี ! ถูกเจาะได้ง่ายมาก

แต่เขาก็กล่าวทิ้งท้ายว่า "อย่างไรก็ตามนั่นเป็นจุดเรื่องต้นที่ดีที่อุตสาหกรรม Smart phone นำเทคโนโลยีด้านชีวภาพมาใช้ และหวังว่าอนาคตมันจะถูกพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป"



ที่มา: BGR

เครื่องสแกนลายนิ้วมือ รู้นะ! นิ้วใคร


     ลายนิ้วมือ ของเราติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด รวมถึง ลายฝ่ามือ ลานนิ้วเท้า ลายฝ่าเท้า ด้วย โดยจะเริ่มเห็นตอนคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 13 สัปดาห์ และสมบูรณ์ลายเส้นพวกนี้จะสมบูรณ์เมื่อสัปดาห์ที่ 21 ภายในครรภ์แม่ หลังจากนั้นลายเส้นนี้จะคงที่และไม่มีเปลี่ยนแปลงอีกเลยตลอดชีวิต ดังนั้น ลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว


ลายนิ้วมือ แบ่งเป็น 3 แบบหลักๆ โดยเรียงลำดับจากแบบที่พบมากที่สุดไปแบบที่พบน้อยที่สุด ดังนี้


     1. Loop
    • ลายเส้นลากจากฝั่งหนึ่งไปตรงกลาง แล้วย้อนกลับมาฝั่งเดิม


     2. Whorl (หรือที่คุ้นกันในชื่อ ก้นหอย)
    • ลายเส้นจะม้วนเข้าสู่ตรงกลางเป็นรูปคล้ายก้นหอย


     3. Arch
    • ลายเส้นจะลากจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง

เครื่องสแกนลายนิ้วมือ รู้ได้อย่างไรว่า นิ้วมือแต่ละคนต่างกันอย่างไร
     เรื่องวิธีการตรวจลายนิ้วมือ มีผู้เชี่ยวชาญคิดค้นทฤษฎีต่างๆ ออกมามากมาย และก็ยังมีการพยายามคิดค้นพัฒนาเพื่อหาแนวทางใหม่ที่แม่นยำและรวดเร็วกว่าออกมาอยู่เรื่อยๆ
     แต่วิธีที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือ วิธีเปรียบเทียบจุดสังเกตบนลายนิ้วมือ (Minutia features)
     
ตัวอย่างจุดสังเกต เช่น (ดูจุดสังเกตทั้งหมดจาก Wikipedia ได้ ที่นี่)
  • Ridge ending     จุดสิ้นสุดของเส้น


  • Ridge bifurcation     จุดที่เส้นหนึ่งเส้น แยกออกเป็นสองเส้น


  • Short ridge (independent ridge)     จุดที่เป็นเส้นสั้นๆ

เครื่องสแกนลายนิ้วมือจะทำการหาจุดสังเกตเหล่านี้หลายๆ จุด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในฐานข้อมูล ถ้าข้อมูลตำแหน่งของจุดเหล่านี้ตรงกับใคร ก็คือลายนิ้วมือของคนนั้น

เวลาเครื่องสแกนลายนิ้วมือทำการบันทึกข้อมูลลายนิ้วมือเข้าสู่ระบบ ในฐานข้อมูลก็จะเก็บข้อมูลเป็นตำแหน่งของจุดสังเกตเหล่านี้นั่นเองครับ

เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ทำอะไรได้บ้าง


     อย่างที่รู้กันว่า ลายนิ้วมือ ของคนเรา แต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ไม่มีการซ้ำกัน ทำให้เราสามารถนำลายนิ้วมือนี้เองมาใช้ระบุตัวบุคคลได้ แต่แทนที่จะใช้การพิมพ์ลายนิ้วมือเหมือนกับโรงรับจำนำส่วนใหญ่ ปัจจุบันมี "เครื่องสแกนลายนิ้วมือ" ที่ให้ข้อมูลเป็นรูปแบบดิจิตอล ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วก็สามารถจัดเก็บข้อมูลแล้วนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้มากมาย



     นี่ก็เป็นตัวอย่างการนำข้อมูลที่ได้จากเครื่องสแกนลายนิ้วมือไปใช้ เช่น


  1. ใช้แทนการตอกบัตรพนักงาน (Time Attendance)
    • หากเป็นการตอกบัตรหรือเซ็นชื่อ เพื่อบันทึกเวลาเข้าทำงาน ก็จะเกิดปัญหาที่ว่าพนักงานมีการตอกบัตรหรือลงเวลาแทนกัน ซึ่งก็ทำให้องค์กรไม่มีประสิทธิภาพและประเมินการทำงานของพนักงานผิดพลาด หากมีการนำเครื่องสแกนลายนิ้วมือมาใช้แล้วปัญหานี้ก็จะหมดไป
    • และเนื่องจากข้อมูลการเข้าออกงานของพนักงานอยู่ในคอมพิวเตอร์ทั้งหมดแล้ว ก็ทำให้ง่ายต่อการคำนวณเป็นสถิติ จัดทำรายงานเวลาทำงาน การขาดลา การทำ OT ได้ด้วย ประหยัดเวลาของฝ่ายบุคคลที่จะไม่ต้องใช้เวลาไปกับการรวบรวมข้อมูล และยังลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดจาก Human Error อีกด้วย
  2. ใช้แทน กุญแจ/บัตร ผ่านเข้าออกประตู
    • ไม่ต้องพกกุญแจหรือบัตร ที่อาจจะลืมไว้ในบ้านหรือในรถ เพียงแค่ใช้นิ้วมือที่คุณจะไม่มีทางลืมนำมันมา เพิ่มความสะดวกและปลอยภัยอย่างมาก และยังตัดปัญหาที่กุญแจหรือบัตรอาจจะถูกแอบหยิบหรือขโมยได้
    • สืบค้นการเข้าออกย้อนหลังได้ หากต้องการรู้ว่าช่วงเวลาไหนมีใครเข้าออกประตูบ้าง
    • นับจำนวนคนที่ผ่านเข้าออกประตู อาจจะแบ่งเป็นช่วงเวลาต่างๆ ในหนึ่งวัน



Popular Posts